การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์กบ/การเตรียมสถานที่เลี้ยงกบ

                            การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์กบ
                             การเตรียมสถานที่เลี้ยงกบ
 บ่อและการสร้างบ่อ
บ่อเลี้ยงกบควรจะสร้างด้วยคอนกรีต หรือวัสดุอื่นๆ ที่มีความแข็งแรงพอสมควร สามารถป้องกันไม่ให้กบหนี และป้องกันศัตรูจากภายนอกไม่ให้เข้าไปทำลายกบได้ บ่อเลี้ยง กบที่ดีควรมีลักษณะดังนี้คือ

1. บ่อรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ควรมีความกว้าง 5 เมตร ยาว 10 เมตร ส่วนบ่อกลม ควรมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 เมตร

2. บ่อรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าทำชานบ่อทางด้านกว้างทั้ง 2 ด้านให้ชานบ่อยาว 30 เชนติเมตร กว้าง 1.5 เมตร โดยให้ชานลาดเอียงสู่กลางบ่อ ส่วนทางด้านยาวทำ ลาดเอียงสู่ท่อระบายน้ำ ส่าหรับบ่อกลมพื้นบ่อควรลาดเอียงสู่จุดศูนย์กลางของบ่อซึ่งเป็น ที่ระบายน้ำทิ้ง มีดวามลึกประมาณ 12 เชนติเมตร

3. คันบ่อ ควรสูงอย่างน้อย 60 เซนติเมตร และกั้นด้วยตาข่ายเพื่อป้องกัน กบกระโดดออกจากบ่อเลี้ยง
หลังคาคลุมบ่อสร้างจากทางมะพร้าว

4. หลังคา ควรมีหลังคาคลุมบ่อเลี้ยงอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของเนื้อที่บ่อ หลังคาจะช่วยบดบังแสงแดดและป้องกันมิให้กบตกใจด้วย

สำหรับการสร้างบ่อเลียงกบด้วยคอนกรีตนั้น หลังจากการสร้างบ่อเสร็จน้ำในบ่อ จะมีสภาพเป็นด่างมาก ยังไม่เหมาะที่จะใช้เลี้ยงกบ ให้แก้ไขโดยใช้สารส้มหนัก 1 กิโลกรัม ต่อน้ำบ่อ 1 ลูกบาศก์เมตร แช่ทิ้งไว้ 3-4 วัน จึงถ่ายน้ำทิ้งแล้วขัดให้สะอาดด้วยแปรง ตากบ่อให้แห้งเติมน้ำใหม่ลงไปก็เริ่มใช้เลี้ยงกบได้ ข้อควรระวังคืออย่าตากบ่อคอนกรีต ไว้นานจะทำให้บ่อแตกร้าวได้
การเลี้ยงกบในปัจจุบัน ลูกกบที่นำมาเลี้ยงได้มาจาก 2 แหล่ง คือ
1. ลูกกบจากธรรมชาติ
เป็นการรวบรวมกบที่มีอยู่ในธรรมชาติมาเลี้ยงในบ่อ จนกระทั่งได้ขนาดก็จับขาย ามารถแบ่งเป็นขั้นตอนได้ดังนี้
1.1 การรวบรวมลูกอ๊อดและการอนุบาล ทำการรวบรวมไข่กบที่ผสมแล้ว จากแหล่งน้ำธรรมชาติมาเพาะฟักและอนุบาลในบ่อที่เตรียมไว้ หรืออาจช้อนลูกอ็อดถบที่พบเห็น อยู่ตามธรรมชาติมาเลี้ยง หรือโดยการจับพ่อแม่พันธุ์กบ ในช่วงต้นฤดูฝนมาเลี้ยงในบ่อเพื่อ ให้ผสมพันธุ์กันและออกไข่ในบ่อเลี้ยง เป็นต้น
อุปสรรคสำคัญของการจับลูกอ๊อดมาเลี้ยงก็คือ มักจะมีลูกอ๊อดของเขียด หรือคางคกปะปนมาด้วยผู้จับจึงต้องมีความรู้และความชำนาญในการเลือก ข้อสังเกตุง่าย ๆ คือ หัวลูกอ๊อดเขียดจะแหลมกว่าหัวลูกอ๊อดกบ ขนาดตัวก็เล็กกว่ารวมทั้งลายที่หลังและเส้นขาวที่พาด ตามลำตัวก็ไม่เหมือนกัน สีที่ด้านหลังและส่วนท้องก็แตกต่างกัน และถึงแม้จะเป็นลูกอ็อดกบ แต่กบก็มีหลายชนิด เช่น กบบัว ชี่งมีขนาดโตเต็มที่เพียงแค่ 15 กรัม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ประสบการณ์ของผู้เลี้ยง

การรวบรวมลูกกบจากธรรมชาติเพื่อนำมาเลี้ยงมีหลายวิธีเช่น
1.1.1 การจับด้วยมือเปล่าโดยใช้ไฟฉายหรือตะเกียงส่องแล้วใช้มือตะปบ จับใส่ถุงผ้าที่สะพายติดตัวไป
1.1.2 การจับด้วยแห จะใช้แหที่มีตาถี่ ทอดเหวี่ยงโดยวิธีเดียวกับการจับปลา
1.1.3 การจับด้วยการขุดหลุมดัก ทำหลุมลึกประมาณ 1 เมตรในบริเวณ ที่มีลูกกบชุกชุม ก้นหลุมวางอาหารผสมหรืออาหารหมักล่อไว้ในตอนเย็น ปากหลุมราดน้ำให้ เปียกชุ่มปรับให้เรียบและลื่นเป็นมัน ลูกกบจะมากินอาหารในตอนกลางคืนแล้วไม่สามารถขึ้น จากหลุมได้ ในตอนเช้าจึงมารวบรวมลูกกบ อย่าปล่อยทิ้งไว้ข้ามวันลูกกบจะมีโอกาสตายได้มาก
1.1.4 การจับด้วยเครื่องมือดัก คล้ายไชดักปลา ด้านหน้ามีทางเข้าทางเดียว ด้านท้ายมีประตูเปิดปิดได้ เมื้อลูกกบเข้าแล้วจะออกไม่ได้ เมื่อต้องการจะใช้งานนำเครื่องมือนี้ให้ฝังดินให้พื้นล่างเสมอกับผิวดิน ปิดด้วยหญ้า ราดน้ำพอชุ่ม ด้านหน้าปรับผิวดินให้ลื่น ภายใน เครื่องมือดักใส่อาหารล่อ ลูกกบจะเข้าไปกินอาหารในตอนกลางคืน ตอนเช้าจึงรวบรวมลูกกบที่ได้

1.2 การเลี้ยงลูกกบ ภายหลังจากลูกอ๊อดเจริญกลายเป็นกบแล้ว จะดำเนินการ อนุบาลจนกระทั้งเติบโตได้ขนาดจึงปล่อยลงบ่อเลี้ยง ลูกกบที่ปล่อยลงบ่อเลี้ยงนี้นิยมลูกกบ ที่มีขนาด 3-5 เชนติเมตรขึ้นไป หรือถ้ารวบรวมจากธรรมชาติก็ต้องมีขนาดที่ทราบแน่นอนแล้ว ว่าเป็นลูกกบ

2. ลูกกบจากโรงเพาะฟัก
เป็นวิธีการเลี้ยงที่ดีที่สุด เพราะจะได้ผลผลิตมากและแน่นอน นอกจากนี้ต้นทุนยังต่ำ สามารถลดปัญหาการบอบช้ำจากการลำเลียงลูกกบจากธรรมชาติได้อีกด้วย วิธีนี้ลูกกบจะได้มา โดยการนำเอาพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่มีลักษณะดีมาผสมกันในบ่อผสมพันธุ์ แล้วนำไข่ที่ได้มาฟักใน บ่อเพาะฟกเพื่อให้ได้ลูกกบ แล้วจึงนำไปอนุบาลต่อในภายหลัง
ที่มา//กรมส่งเสริมการเกษตร